สำหรับบทความนี้ เราจะพูดถึงเทคนิคที่ใช้ในการควบคุมไม้กันสั่นที่มือใหม่ต้องรู้ก่อนซื้อมาใช้งาน โดยเป็นเทคนิคที่ทุกคนสามารถนำไปฝึกใช้งานจริงและประยุกต์ใช้กับการถ่ายวีดีโอให้ดูเป็นมืออาชีพมากขึ้นได้
1. แพนกล้องจากบนลงล่าง หรือจากล่างขึ้นบน (Raising & Lowering)
เทคนิคนี้เป็นวีธีการควบคุมไม้กันสั่น โดยต้องถือให้อยู่ในระดับเหนือหรือระดับล่างกว่าสิ่งที่เราต้องการจะถ่าย จากนั้น เลื่อนไม้กันสั่นไปในทิศทางตรงข้ามจากบนไปล่าง หรือจากล่างขึ้นบน โดยไม่มีการเอียงไม้กันสั่น
2. แพนแบบขนานกับสิ่งที่ต้องการจะถ่าย (Horizontal)
เป็นเทคนิคการควบคุมไม้กันสั่นแบบถือไม้กันสั่นไว้ให้สูงในระดับประมาณหัวไหล่ ในขณะเดียวกัน เราก็เคลื่อนที่ไปด้านข้างของสิ่งที่ต้องการถ่าย เหมือนเช่นการร่อนลงจอดของเครื่องบิน ซึ่งเทคนิคนี้สามารถใช้ทำ Transition เปลี่ยนฉากได้ โดยให้เราวิ่งขนานผ่านสิ่งต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ เสา เพื่อให้สิ่งเหล่านั้นเป็น Foreground บังไว้ และเราก็ไปถ่ายอีกสถานที่หนึ่งที่วิ่งขนานในลักษณะเดียวกัน
3. การถ่ายแบบวงกลม (Circle)
เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ค่อนข้างทำยาก แต่ก็ไม่ได้ยากซะทีเดียว อย่างไรก็ตาม สำหรับมีทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับมือใหม่ นั่นคือเทคนิคนี้จะต้องเดินรอบสิ่งที่ต้องการถ่ายในลักษณะวงกลม แต่ต้องระวัง ไม่ไปเดินชนอะไรเวลาเดินรอบสิ่งที่จะถ่าย และต้องใช้ความเร็วในการเคลื่อนที่เป็นวงกลมที่ไม่เร็วจนเกินไปด้วย เพียงเท่านี้ ภาพที่ออกมาก็จะดูสมูธยิ่งขึ้น
4. การเงยขึ้น (Tilting)
เทคนิคนี้เราจะต้องเงยไม้กันสั่นขึ้นหรือก้มลง โดยขณะที่เงยขึ้นนั้น ต้องควบคุมจอยสติ๊กไปด้วย เพื่อให้มุมกล้องมีลักษณะเหมือนว่าเรากำลังเงยหน้ามองอะไรสักอย่าง และต้องใช้ความเร็วที่พอเหมาะด้วย คงบคุมอย่าให้เร็วจนเกินไป
5. การถอยออก (Pull-out)
เป็นเทคนิคที่ตรงข้ามกับ Push-in ซึ่งเป็นเทคนิคที่จะกล่างถึงในลำดับต่อไป เทคนิค Pull-out นี้ เป็นการถอยออกจากสิ่งที่เรากำลังถ่ายอยู่ จะทำให้ได้ภาพในมุมกว้าง เพื่อเน้นในเรื่องของการให้รายละเอียด เรื่องราว หรือ ความยิงใหญ่ ใน shot นั้น ๆ
6. การเดินเข้าไปหาตัวแบบ (Push-in)
เทคนิคนี้จะต้องเคลื่อนตัวเข้าหาสิ่งที่เรากำลังถ่ายแบบตรง ๆ เลย โดยเน้นการ Close – up ในระยะประชิด แต่มีข้อควรระวังนั่นก็คือ อย่าเข้าไปชิดจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้หลุดโฟกัสได้ นอกจากนี้ เทคนิคนี้ยังสามารถเอาไปประยุกต์ใช้สำหรับการทำ Transition ในวีดีโอได้อีกด้วย ใช้ควบคู่ไปกับการใช้เทคนิค Pull-out เปลี่ยนไปยังอีกฉากหนึ่งที่ต้องการ
7. การติดตามสิ่งที่ต้องการถ่าย (Follow & Lead)
เป็นเทคนิคที่จะต้องเดินถือไม้กันสั่นตามติดสิ่งที่ต้องการถ่าย อาจจะตามทางด้านหลัง หรือด้านหน้าก็ได้ ถ้าเป็นด้านหลังจะให้ความรู้สึกเหมือนเรากำลังมุ่งหน้า นำทางไปหาอะไรสักอย่าง แต่ถ้าเป็นการถ่ายแบบที่เราเดินนำอยู่ด้านหน้าก็จะทำให้รู้สึกเหมือนว่ากำลังถ่าย Vlog แบบ Selfie อยู่นั่นเอง
และนี่ก็คือเทคนิคที่จะช่วยให้ทุกคนใช้ไม้กันสั่นได้ดียิ่งยึ้นราวกับเป็นมืออาชีพ หวังว่าทุกคนจะสนุกไปกับการถ่ายวีดีโอด้วยไม้กันสั่นมือถือมากขึ้นนะคะ